วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไทยทรงดำ อ.ดอนตูม

ประเพณีไทยทรงดำ


ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะแรต ตำบลบางปลา อยู่ห่างจากอำเภอบางเลนมาทางทิศใต้ ตามเส้นทางสายบางเลน-ดอนตูม ประมาณ 9 กิโลเมตร หรือ ทางหลวงหมายเลข 3296 กิโลเมตรที่ 5 เป็นหมู่บ้านของชาวไทยเชื้อสายโซ่ง (หรือไทยทรงดำหรือไทดำ) ซึ่งอพยพเข้ามาเมืองไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2311 เข้ามาอยู่ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  ต่อมาได้ขยับขยายที่ทำกินไปตามจังหวัดต่างๆ เช่น นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย เลย พิจิตร พิษณุโลก เป็นต้น วัฒนธรรม วิถีชีวิตและประเพณีของชาวไทยทรงดำเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  การแต่งกาย ชาวไทยโซ่งชอบใช้เครื่องแต่งกายสีดำหรือสีครามเข้มจนเกือบดำ  ผู้หญิง ไว้ผมยาวเกือบ 1 เมตร เพื่อทำทรงผม เรียกว่า ปั้นเกล้า ไว้กลางศีรษะและสับปิ่นไว้ เสื้อผ้ามีเสื้อก้อม เสื้อฮี ผ้าเปียว ผ้าซิ่นสีครามแก่มีลายทางสีฟ้า เรียกว่า ลายแตงโม ผู้ชาย สวมเสื้อก้อมหรือเสื้อไทแขนยาว กางเกงขายาวเรียกว่า ส้วงขาฮี หรือ ส้วงก้อมมีสีดำ และ เสื้อฮีเป็นเสื้อประจำตัวในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ บ้านของชาวไทยทรงดำเป็นแบบดั้งเดิมโบราณ เป็นบ้านแบบเครื่องผูกวัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่ เช่น ฝาบ้าน พื้นบ้าน โครงสร้างหลังคาสูงชัน มุงด้วยหญ้าแฝก ใต้ถุน อุปนิสัยชาวไทยทรงดำ รักสงบ ซื่อสัตย์ อดทน ขยันขันแข็ง มีความรักและสามัคคีในหมู่คณะ รักความสนุกสนานเพลิดเพลิน







วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รหัสไปรษณีย์และประชากร

73120    ขุนแก้ว                    นครชัยศรี               นครปฐม
73120    โคกพระเจดีย์         นครชัยศรี               นครปฐม
73120    งิ้วราย                     นครชัยศรี               นครปฐม
73120    ดอนแฝก                 นครชัยศรี               นครปฐม
73120    ท่ากระชับ               นครชัยศรี               นครปฐม
73120    ท่าตำหนัก              นครชัยศรี               นครปฐม
73120    ท่าพระยา               นครชัยศรี               นครปฐม
73120    ไทยาวาส               นครชัยศรี               นครปฐม
73120    นครชัยศรี               นครชัยศรี               นครปฐม
73120    บางกระเบา           นครชัยศรี               นครปฐม
73120    บางแก้ว                 นครชัยศรี               นครปฐม
73120    บางแก้วฟ้า            นครชัยศรี               นครปฐม
73120    บางพระ                 นครชัยศรี               นครปฐม
73120    บางระกำ               นครชัยศรี               นครปฐม
73120    พะเนียด                 นครชัยศรี               นครปฐม
73120    ลานตากฟ้า           นครชัยศรี               นครปฐม
73120    วัดแค                     นครชัยศรี               นครปฐม
73120    วัดละมุด                นครชัยศรี               นครปฐม
73120    วัดสำโรง                นครชัยศรี               นครปฐม
73120    ศรีมหาโพธิ์             นครชัยศรี               นครปฐม
73120    ศรีษะทอง               นครชัยศรี               นครปฐม
73120    สัมปทวน                นครชัยศรี               นครปฐม
73120    ห้วยพลู                  นครชัยศรี               นครปฐม
73120    แหลมบัว                นครชัยศรี               นครปฐม



ประชากร

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น     รวม 90,969  คน
2.จำนวนประชากรชาย        รวม 43,460  คน
3.จำนวนประชากรหญิง       รวม 47,509  คน
4.ความหนาแน่นของประชากร      - คน/ตร.กม.


โดย นายชุฒิพงศ์ สุขจินดาวรรักษ์ กลุ่มอำเภอนครชัยศรี

เเหล่งที่มา : รหัสไปรษณีย์และประชากร . (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ  กันยายน 10,2556,จาก

http://www.noplink.com/postcode_a.php?a=%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5&p=%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1

ที่ตั้ง อาณาเขต ภูมิประเทศ





ที่ตั้งและอาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอนตูมและอำเภอบางเลน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอสามพราน
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามพราน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครปฐม

ภูมิประเทศ


เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสายหลักไหลผ่านคือ แม่น้ำท่าจีน และมีคลองต่าง ๆ เชื่อมโยงกัน ประกอบด้วยคลองเจดีย์บูชา และคลองบางแก้ว



โดย นายชุฒิพงศ์ สุขจินดาวรรักษ์ กลุ่มอำเภอนครชัยศรี

เเหล่งที่มา : ที่ตั้ง อาณาเขต ภูมิประเทศ . (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ  กันยายน 10,2556,จาก

http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=202&pv=18



คำขวัญ




คำขวัญ

ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวสวย






โดย นายชุฒิพงศ์ สุขจินดาวรรักษ์ กลุ่มอำเภอนครชัยศรี


เเหล่งที่มา : คำขวัญ . (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ  กันยายน 10,2556,จาก

http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=202&pv=18

ประวัติความเป็นมา



ประวัติความเป็นมา

อำเภอนครชัยศรี เป็นเมืองที่ตั้งขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งที่ตำบลท่านา ริมฝั่งแม่น้ำนครชัยศรี (ปัจจุบันเรียกว่าตำบลนครชัยศรี) ครั้งถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล โดยรวมพื้นที่หลายจังหวัด เรียกว่า มณฑลนครชัยศรี ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลนครชัยศรี จึงกลายเป็นชื่อของอำเภอดังปัจจุบัน

การปกครอง


1.ตำบล  24  แห่ง
2.หมู่บ้าน  108  แห่ง
3.เทศบาล  2  แห่ง
4.อบต  24  แห่ง



โดย นายชุฒิพงศ์ สุขจินดาวรรักษ์ กลุ่มอำเภอนครชัยศรี

เเหล่งที่มา : ประวัติความเป็นมา . (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ  กันยายน 10,2556,จาก

http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=202&pv=18


รหัสไปรษณีย์และประชากร




   73130    คลองนกกระทุง     บางเลน         นครปฐม     
73130    ดอนตูม                   บางเลน         นครปฐม
73130    ไทรงาม                   บางเลน         นครปฐม
73130    นราภิรมย์                บางเลน        นครปฐม
73130    นิลเพชร                   บางเลน        นครปฐม
           73130    บัวปากท่า               บางเลน         นครปฐม               
          73130    บางไทรป่า              บางเลน          นครปฐม             
73130    บางปลา                  บางเลน          นครปฐม
73130    บางภาษี                  บางเลน          นครปฐม
73130    บางระกำ                 บางเลน          นครปฐม
73130    บางเลน                    บางเลน          นครปฐม
73190    บางหลวง                 บางเลน          นครปฐม
73130    ไผ่หูช้าง                    บางเลน          นครปฐม
73130    ลำพญา                   บางเลน           นครปฐม
73190    หินมูล                       บางเลน           นครปฐม

ประชากร


1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น               รวม 89,386  คน
2.จำนวนประชากรชาย                  รวม 44,074  คน
3.จำนวนประชากรหญิง                 รวม 45,312 คน
                4.ความหนาแน่นของประชากร      166.77 คน/ตร.กม.




โดย นายชุฒิพงศ์ สุขจินดาวรรักษ์ กลุ่มอำเภอบางเลน

เเหล่งที่มา : รหัสไปรษณีย์และประชากร . (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ  กันยายน 10,2556,จาก

http://www.noplink.com/postcode_a.php?a=%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99&p=%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1

ที่ตั้ง อาณาเขต ภูมิประเทศ





ที่ตั้ง

          อำเภอบางเลนเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 7 อำเภอ ของจังหวัดนครปฐมอยู่ห่างจาก จังหวัดนครปฐม ประมาณ 48 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 67 กิโลเมตร อำเภอบางเลนมีเนื้อที่ประมาณ 588.836 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 368,022.5 ไร่

อาณาเขต

  ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีและอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอนครชัยศรี และอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

  ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

ภูมิประเทศ

             สภาพพื้นที่อำเภอบางเลน มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มลักษณะดินเป็นดินเหนียวมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติเหมาะสำหรับการเกษตรกรรม

           แม่น้ำ มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านพื้นที่ 9 ตำบล คือ ตำบลบางหลวง ตำบลบางเลน ตำบลหินมูล ตำบลบางไทรป่า ตำบลลำพญา ตำบลบางระกำ ตำบลคลองนกกระทุง ตำบลบางปลา ตำบลไทรงาม



โดย นายชุฒิพงศ์ สุขจินดาวรรักษ์ กลุ่มอำเภอบางเลน

เเหล่งที่มา : ที่ตั้ง อาณาเขต ภูมิประเทศ . (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ  กันยายน 10,2556,จาก

http://banglen.tripod.com/mainframe.htm


คำขวัญ





คำขวัญ

แหล่งข้าวอุดมดี มากมีเป็ดปลา วัฒนธรรมล้ำค่า งามตาท่าจีน




โดย นายชุฒิพงศ์ สุขจินดาวรรักษ์ กลุ่มอำเภอบางเลน


เเหล่งที่มา : คำขวัญ . (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ  กันยายน 10,2556,จาก

http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=198&pv=18


ประวัติความเป็นมา




อำเภอบางเลน เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 7 อำเภอ ของจังหวัดนครปฐม ตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ.2439   ที่ว่าการอำเภอเดิมตั้งอยู่ที่บ้านบางไผ่นารถ ตำบลบางไทรป่า ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน ใช้ชื่อว่า อำเภอบางปลา
         ภายหลังอำเภอบางปลาแบ่งการปกครองเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลบางปลา และตำบลบางเลน ในปี พ.ศ.2479 ได้เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอบางปลาเป็นอำเภอบางเลน
                 พ.ศ.2521 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน มาตั้งอยู่ริมถนน พลดำริห์ ในท้องที่หมู่ที่ 8 ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จนกระทั่งปัจจุบัน และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางเลน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งที่มีสำนักงานอยู่ในที่ว่าการอำเภอบางเลนนี้ด้วยและ ได้ทำงานการพัฒนาชุมชนในพื้นที่อำเภอบางเลนจนมีผลงานเด่นชัดที่รวบรวมอยู่ในประวัติความเป็นมาของงานพัฒนาชุมชนจนถึงปัจจุบัน

การปกครอง

1.ตำบล  15  แห่ง
2.หมู่บ้าน  180  แห่ง
3.เทศบาล  4  แห่ง
4.อบต  15  แห่ง



โดย  นายชุฒิพงศ์  สุขจินดาวรรักษ์  กลุ่มอำเภอบางเลน


แหล่งที่มา : ประวัติความเป็นมา . (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ กันยายน 12,2556,จาก

http://banglen.tripod.com/mainframe.htm


วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเเบ่งเขตการปกครองอำเภอพุทธมณฑล



การปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอพุทธมณฑลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ศาลายา          (Sala Ya)                                       6 หมู่บ้าน

2. คลองโยง      (Khlong Yong)                             8 หมู่บ้าน

3. มหาสวัสดิ์      (Maha Sawat)                               4 หมู่บ้าน




การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอพุทธมณฑลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง 

ได้แก่

เทศบาลตำบลศาลายา  ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศาลายา

เทศบาลตำบลคลองโยง  ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองโยงทั้งตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา  ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลายา (นอกเขต

เทศบาลตำบลศาลายา)

องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์  ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ทั้ง

ตำบล





โดย นายกมล  จ้อยร่อย  กลุ่มอำเภอพุทธมณฑล

เเหล่งที่มา : การเเบ่งเขตการปกครองอำเภอพุทธมณฑล . (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ  กันยายน 10,2556,จาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5