วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปราชญ์ชาวบ้าน

นายชิต เหรียญประชา

         นายชิต เหรียญประชา เป็นชาวนครปฐม อำเภอสามพราณ ตำบลยายชา เกิดปีวอก วันพุธ 3 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2451 สัมฤทธิศกจุลศักราช 1270 ร.ศ. 1908 ในตระกูลชาวนา บิดาชื่อกวย มารดาชื่อมาก มีพี่น้องรวม 7 คนและเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับการยกย่องในวงการศิลปะว่าเป็นผู้มีความยึดมั่นในการสร้างสรรค์ศิลปะมาเป็นเวลาอันยาวนานถึง ๕๐ ปี นายชิต เหรียญประชา เป็นศิลปินที่มีความเป็นเลิศในด้านการแกะสลักไม้ เป็นผู้ที่มีความสามารถนำเอารูปแบบของศิลปะประเพณีมาผสมกับรูปแบบวิธีการของศิลปะสมัยใหม่ได้เป็นผลสำเร็จ นับว่าท่านเป็นศิลปินผู้บุกเบิกของยุคศิลปะสมัยใหม่ของไทยผู้หนึ่ง ผลงานของท่านได้รับเกียรติแสดงในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ การแสดงศิลปะร่วมสมัยของไทยในประเทศและมีติดตั้งแสดงถาวรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ แม้ว่าจะอยู่ในวัยชราท่านยังคงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างไม่หยุดหยั้ง มหาวิทยาลัยศิลปากรเห็นความสำคัญในผลงานของ ชิต เหรียญประชา จึงได้จัดแสดงผลงาน จำนวน ๓๑ ชิ้น เพื่อเป็นเกียรติและเป็นการเผยแพร่ผลงานแก่ประชาชน ที่หอศิลป์ของมหาวิทยาลัย นายชิต เหรียญประชา ได้ดำเนินชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในฐานะบุคคลและศิลปิน

          นายชิต เหรียญประชา เกิดที่จังหวัดนครปฐม จากชีวิตช่างสู่ความเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมเริ่มต้นอาชีพรับจ้างทำงานช่างชั้นฝีมือ ด้วยความอดทนใช้ความชำนาญสร้างผลงานประติมากรรมปั้นและแกะสลักงาช้างชื่อ หนุมานและนางมัจฉา ต่อมาสร้างผลงานแกะสลักไม้ชื่อ รำมะนา หญิงไทย เถิดเทิง ผลงานทั้งหมดได้สะท้อนลักษณะประติมากรผู้เชี่ยวชาญที่ตัดส่วนละเอียดของรูปทรงให้เหลือเฉพาะส่วนสำคัญ ให้มีท่าทางถูกต้องตรงตามเรื่องราววิถีชีวิตของคนไทยโดยอาศัยชั้นเชิงกระบวนการแกะสลักไม้ และจากการได้รับรางวัลในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ถึง 4ทำให้ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมด้านประติมากรรม ผลงานพระพุทธรูปปางลีลาและปางมารวิชัยเป็นผลงานประติมากรรมแกะสลักไม้ที่สร้างสรรค์ขึ้นตามความคิดคำนึงของตนเอง เป็นผลงานขนาดใหญ่สองชิ้นที่สร้างขึ้นในช่วงปัจฉิมวัย ผลงานดังกล่าวได้พิสูจน์ความมุ่งมั่นในความเป็นช่างแกะสลักสู่ศิลปินชั้นเยี่ยมด้านประติมากรรมจากงานศิลปกรรมแห่งชาติ ตลอดชีวิตการทำงานสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี
          นอกจากนนี้ผลงานของท่านได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือศิลปะหลายเล่ม เช่น สูจิบัตร การแสดงนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ หนังสือศิลปะร่วมสมัยของศาสตราจารย์ศิลปะ พีระศรี และของคณะจิตรกรรมประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร หนังสือการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ย้อนหลังจัดพิมพ์กาสเปิดหอศิลป์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น
          ระหว่าง พ.ศ. 2489-2500 ท่านได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมจิตรกรรมประติมากรรมแห่งประเทศไทย (คนที่ 2) ท่านเสียสละเวลากำลัง ความคิด กำลังกายดำเนินการเป็นผลดีแก่วงการศิลปะและประชาชนอย่างมากมาย นับเป็นยุครุ่งเรืองของสมาคมยุคหนึ่ง ช่วงนี้ท่านได้สร้างพระพุทธรูปไม้และโลหะขึ้นหลายองค์อุทิศให้พระพุทธศาสนา
          แม้จะสูงอายุ ท่านอุทิศตนแก่งานศิลปะที่ท่านรักเป็นที่สุด หลังจากได้ฟันฟ่าอุปสรรคมามากมายในอดีต เมื่อมีโอกาสท่านจะไม่ลังเลที่จะทำประโยชน์ให้แก่เยาวชนและประเทศชาติ ท่านใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ สงบเสงี่ยม สง่างามตามอัตถภาพท่ามกลางความเคารพรักของญาติสนิทมิตรสหาย
          ท่านถึงแก่กกรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ด้วยโรคไตวายและหัวใจล้มเหลว ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อายุได้ 86 ปี
ที่มา : ปราชญ์ท้องถิ่น. ค้นเมื่อ สิงหาคม 15, 2555, จาก
                    http://cul.npru.ac.th/journal/pdf/NPphilosopher4.pdf



โดย สาธิกา  สุขกรม และ รักใจ  ทองฉิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น