วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเมืองการปกครองอำเภอบางเลน

 

อำเภอบางเลน เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดในจังหวัด

นครปฐม

ที่ว่าการอำเภอบางเลน

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบางเลนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 180 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางเลน (Bang Len) 12 หมู่บ้าน
2. บางปลา (Bang Pla) 13 หมู่บ้าน
3. บางหลวง (Bang Luang)         21 หมู่บ้าน
4. บางภาษี (Bang Phasi) 13 หมู่บ้าน
5. บางระกำ (Bang Rakam) 15 หมู่บ้าน
6. บางไทรป่า (Bang Sai Pa) 10 หมู่บ้าน
7. หินมูล (Hin Mun)         11 หมู่บ้าน
8. ไทรงาม (Sai Ngam) 11 หมู่บ้าน

9. ดอนตูม (Don Tum) 9 หมู่บ้าน
10. นิลเพชร (Ninlaphet) 10 หมู่บ้าน
11. บัวปากท่า (Bua Pak Tha) 10 หมู่บ้าน
12. คลองนกกระทุง (Khlong Nok Krathung) 11 หมู่บ้าน
13. นราภิรมย์ (Naraphirom) 11 หมู่บ้าน
14. ลำพญา (Lam Phaya) 11 หมู่บ้าน
15. ไผ่หูช้าง (Phai Hu Chang) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบางเลนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่

1. เทศบาลตำบลบางเลน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเลนและตำบลบางไทรป่า

2. เทศบาลตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางหลวง

3. เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางภาษี

4. เทศบาลตำบลลำพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางส่วนของตำบลลำพญา

5. องค์การบริหารส่วนตำบลบางเลน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเลน (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเลน)

6. องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลาทั้งตำบล

7. องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)

8. องค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางภาษี (นอกเขตเทศบาลตำบลรางกระทุ่ม)

9. องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางระกำทั้งตำบล

10. องค์การบริหารส่วนตำบลบางไทรป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไทรป่า (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเลน)

11. องค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินมูลทั้งตำบล

12. องค์การบริหารส่วนตำบลไทรงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรงามทั้งตำบล

13. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนตูมทั้งตำบล

14. องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิลเพชรทั้งตำบล

15. องค์การบริหารส่วนตำบลบัวปากท่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวปากท่าทั้งตำบล

16. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองนกกระทุงทั้งตำบล

17. องค์การบริหารส่วนตำบลนราภิรมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนราภิรมย์ทั้งตำบล

18. องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำพญา (นอกเขตเทศบาลตำบลลำพญา)

19. องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่หูช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่หูช้างทั้งตำบล



เรือโท กฤษณ์ จินตะเวช นายอำเภอบางเลนปัจจุบันปี 2556
                                 


โดย อัจจิมา เกตุพันธ์ และ สุภาพร ครองระวะ

แหล่งที่มา 

อำเภอบางเลน.(ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ 2556,สิงหาคม,8, จาก http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=198&pv=18

การเมืองการปกครองอำเภอพุทธมณฑล

อำเภอพุทธมณฑล เป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่สุดและมีพื้นที่น้อยที่สุดในจังหวัดนครปฐม
ที่ว่าการอำเภอเมืองพุทธมณฑล
แผนที่อำเภอเมืองพุทธมณฑล
          อำเภอพุทธมณฑล ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของจังหวัดนครปฐมอำเภอพุทธมณฑล เป็น 1 ใน 7 อำเภอของจังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ 76.329 ตารางกิโลเมตร หรือ 47,706.25 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของจังหวัดนครปฐม ระยะทางจากจังหวัดนครปฐมโดยถนนสายเพชรเกษมและถนนบรมราชชนนี ประมาณ 32 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 20 กิโลเมตร

แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ตำบล คือ

  • ตำบลศาลายาจำนวน 6 หมู่บ้าน
  • ตำบลคลองโยง จำนวน 8 หมู่บ้าน
  • ตำบลมหาสวัสดิ์               จำนวน 4 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอพุทธมณฑลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ศาลายา (Sala Ya) 6 หมู่บ้าน

2. คลองโยง (Khlong Yong) 8 หมู่บ้าน

3. มหาสวัสดิ์ (Maha Sawat) 4 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอพุทธมณฑลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  1. เทศบาลตำบลศาลายา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศาลายา
  2. เทศบาลตำบลคลองโยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองโยงทั้งตำบล
  3. องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลายา (นอกเขตเทศบาลตำบลศาลายา)
  4. องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ทั้งตำบล

                              

           นายบรรลือ  สง่าจิตร ได้รับตำแหน่งนายอำเภอพุทธมณฑลในปีพุทธศักราชใหม่ 2555 

 

โดย อัจจิมา เกตุพันธ์ และ สุภาพร ครองระวะ

แหล่งที่มา 

อำเภอพุทธมณฑล.(ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ 2556,สิงหาคม,8, จาก http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=198&pv=18

      



การเมืองการปกครองอำเภอดอนตูม




อำเภอดอนตูม


การปกครอง 

แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็น 8 ตำบล 69 หมู่บ้าน ดังนี้
ตำบลลำเหย จำนวน 15 หมู่บ้าน
ตำบลสามง่าม จำนวน 12 หมู่บ้าน
ตำบลดอนพุทรา จำนวน 10 หมู่บ้าน
ตำบลห้วยพระ จำนวน 9 หมู่บ้าน
ตำบลห้วยด้วน จำนวน 7 หมู่บ้าน
ตำบลลำลูกบัว จำนวน 6 หมู่บ้าน
ตำบลดอนรวก จำนวน 5 หมู่บ้าน
ตำบลบ้านหลวง จำนวน 5 หมู่บ้าน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 7 แห่ง คือ
   เทศบาลตำบล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลสามง่าม ประกอบด้วย ตำบลสามง่าม และตำบลลำลูกบัว (เต็มพื้นที่)
องค์การบริหารส่วนตำบลมี 6 แห่ง คือ

  1. องค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย
  2. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนพุทรา
  3. องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยพระ
  4. องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยด้วน
  5. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก
  6. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง

ประชากร

มีประชากรทั้งสิ้น 46,362 คน แยกเป็น ชาย 22,626 คน หญิง 23,746 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 260.30 คน/ตารางกิโลเมตร




โดย อัจจิมา เกตุพันธ์ และ สุภาพร ครองระวะ

แหล่งที่มา 

ข้อมูลอำเภอดอนตูม.  (2553).  ค้นเมื่อ 2556,สิงหาคม,8, จาก 

http://librarys1809.blogspot.com/p/blog-page_1388.html

การเมืองการปกครอง อำเภอกำแพงแสน






อำเภอกำแพงแสน


การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอกำแพงแสนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 204 หมู่บ้าน ได้แก่


1.         ทุ่งกระพังโหม (Thung Kraphanghom) 7 หมู่บ้าน
2.         กระตีบ                 (Kratip)         8 หมู่บ้าน
3.         ทุ่งลูกนก         (Thung Luk Nok) 23 หมู่บ้าน
4.         ห้วยขวาง         (Huai Khwang)         21 หมู่บ้าน
5.         ทุ่งขวาง         (Thung Khwang) 10 หมู่บ้าน
6.         สระสี่มุม         (Sa Si Mum)         24 หมู่บ้าน
7.         ทุ่งบัว         (Thung Bua)         11 หมู่บ้าน
8.         ดอนข่อย         (Don Khoi)         16 หมู่บ้าน
9.         สระพัฒนา         (Sa Phatthana)         14 หมู่บ้าน
10.       ห้วยหมอนทอง (Huai Mon Thong) 12 หมู่บ้าน
11.       ห้วยม่วง         (Huai Muang)         12 หมู่บ้าน
12.       กำแพงแสน         (Kamphaeng Saen) 12 หมู่บ้าน
13.       รางพิกุล         (Rang Phikun)          9 หมู่บ้าน
14.       หนองกระทุ่ม (Nong Krathum) 11 หมู่บ้าน
15.       วังน้ำเขียว         (Wang Nam Khiao) 14 หมู่บ้าน


การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอกำแพงแสนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งกระพังโหมและตำบลกำแพงแสน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระพังโหม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกระพังโหม (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระตีบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระตีบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลูกนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งลูกนกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยขวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งขวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่มุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระสี่มุมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนข่อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระพัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหมอนทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำแพงแสน (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรางพิกุลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระทุ่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียวทั้งตำบล





โดย  อัจจิมา เกตุพันธ์ และ สุภาพร ครองระวะ

แหล่งที่มา

อำเภอกำแพงแสน.  (2556).  ค้นเมื่อ 2556, สิงหาคม, 08 จาก 
          http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99

การเมืองการปกครอง อำเภอเมืองนครปฐม




 เทศบาลเมืองนครปฐม


การปกครองท้องที่
การแบ่งเขตการปกครองท้องที่ ของอำเภอเมืองนครปฐม แบ่งออกเป็น 25 ตำบล
       การปกครองส่วนท้องถิ่น
1. เทศบาล
เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครปฐม เทศบาลตำบล 3 แห่ง คือ
1. เทศบาลตำบลธรรมศาลา
2. เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ
3. เทศบาลตำบลดอนยายหอม
2. องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 24 แห่ง ได้แก่
1. องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ
2. องค์การบริหารส่วนตำบลสระกะเทียม
3. องค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง
4. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง
5. องค์การบริหารส่วนตำบลมาบแค
6. องค์การบริหารส่วนตำบลบางแขม
7. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง
8. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม
9. องค์การบริหารส่วนตำบลตาก้อง
10. องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลับ
11. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม
12. องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู
13. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองดินแดง
14. องค์การบริหารส่วนตำบลลำพยา
15. องค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม
16. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย
17. องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมศาลา
18. องค์การบริหารส่วนตำบลสามควายเผือก
19. องค์การบริหารส่วนตำบลพระประโทน
20. องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจระเข้
21. องค์การบริหารส่วนตำบลถนนขาด
22. องค์การบริหารส่วนตำบลวังเย็น
23. องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน
24. องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์

ประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น 172,062 คน แยกเป็นชาย 83,625 คน หญิง 88,437 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 400 คน/ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมในเขตเทศบาล)



โดย  อัจจิมา เกตุพันธ์ และ สุภาพร ครองระวะ

แหล่งที่มา
ข้อมูลท้องถิ่น.  (ม.ป.ป.).   ค้นเมื่อ 2556, สิงหาคม, 08 จาก  
http://library1800.blogspot.com/p/blog-page_5137.html

การเมืองการปกครอง จังหวัดนครปฐม




การเมืองการปกครอง จังหวัดนครปฐม


จังหวัดนครปฐมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 106 ตำบล และ 5,925 หมู่บ้าน เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลตำบล 14 แห่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนตำบล 102 แห่ง

การแบ่งเขต ๖ อำเภอกับ ๑ กิ่งอำเภอ

1. อำเภอเมือง
2. อำเภอนครชัยศรี
3. อำเภอสามพราน
4. อำเภอบางเลน
5. อำเภอกำแพงแสน
6. อำเภอดอนตูม
และกิ่งอำเภอพุทธมณฑล
การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 1 เทศบาลนคร, 3 เทศบาลเมือง, 15 เทศบาลตำบล และ 97 องค์การบริหารส่วนตำบล

ประชากร

           ปัจจุบันจังหวัดนครปฐมมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 843,599 คน (ธันวาคม 2551 ) เป็นชาย 406,431คน เป็นหญิง 437,168 คน มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของประชากร  389 คนต่อตารางกิโลเมตร

การสาธารณสุข

           การสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2546 จังหวัดนครปฐม มีโรงพยาบาลของรัฐ 11 แห่ง ของเอกชน 5 แห่ง มีแพทย์ 235 คน และมีเตียงผู้ป่วย1,683 เตียง มีผู้ป่วยใน 111,853ผู้ป่วยนอก1,938,214






โดย  อัจจิมา เกตุพันธ์ และ สุภาพร ครองระวะ

แหล่งที่มา

วารุณี ศรีอ้าย.  (2553).  การปกครอง.  ค้นเมื่อ 2556, สิงหาคม, 08 จาก 
http://noowawa.blogspot.com/p/blog-page_06.html

การเมืองการปกครอง อำเภอนครชัยศรี



อำเภอนครชัยศรี

การปกครองและประชากร

อำเภอนครชัยศรี แบ่งเขตการปกครองตามระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็น 24 ตำบล 108 หมู่บ้าน รายชื่อตำบลดังนี้

1. ตำบลนครชัยศรี 2. ตำบลบางกระเบา 
3. ตำบลท่าพระยา 4. ตำบลสัมปทวน 
5. ตำบลท่าตำหนัก 6. ตำบลขุนแก้ว
7. ตำบลพะเนียด 8. ตำบลโคกพระเจดีย์
  9. ตำบลบางระกำ 10. ตำบลศีรษะทอง
11. ตำบลแหลมบัว 12. ตำบลศรีมหาโพธิ์
13. ตำบลดอนแฝก 14. ตำบลลานตากฟ้า 
15. ตำบลบางแก้วฟ้า 16. ตำบลไทยาวาส 
17. ตำบลงิ้วราย 18. ตำบลบางแก้ว
19. ตำบลท่ากระชับ 20. ตำบลวัดละมุด 
21. ตำบลห้วยพลู 22. ตำบลบางพระ 
23. ตำบลวัดแค 24. ตำบลวัดสำโรง


เทศบาล มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่

1. เทศบาลตำบลนครชัยศรี

2. เทศบาลตำบลห้วยพลู



โดย  อัจจิมา เกตุพันธ์ และ สุภาพร ครองระวะ

แหล่งที่มา

 อำเภอนครชัยศรี (ม.ป.ป.).   ค้นเมื่อ 2556, สิงหาคม, 08 จาก 

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปราชญ์ชาวบ้าน

นายชิต เหรียญประชา

         นายชิต เหรียญประชา เป็นชาวนครปฐม อำเภอสามพราณ ตำบลยายชา เกิดปีวอก วันพุธ 3 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2451 สัมฤทธิศกจุลศักราช 1270 ร.ศ. 1908 ในตระกูลชาวนา บิดาชื่อกวย มารดาชื่อมาก มีพี่น้องรวม 7 คนและเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับการยกย่องในวงการศิลปะว่าเป็นผู้มีความยึดมั่นในการสร้างสรรค์ศิลปะมาเป็นเวลาอันยาวนานถึง ๕๐ ปี นายชิต เหรียญประชา เป็นศิลปินที่มีความเป็นเลิศในด้านการแกะสลักไม้ เป็นผู้ที่มีความสามารถนำเอารูปแบบของศิลปะประเพณีมาผสมกับรูปแบบวิธีการของศิลปะสมัยใหม่ได้เป็นผลสำเร็จ นับว่าท่านเป็นศิลปินผู้บุกเบิกของยุคศิลปะสมัยใหม่ของไทยผู้หนึ่ง ผลงานของท่านได้รับเกียรติแสดงในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ การแสดงศิลปะร่วมสมัยของไทยในประเทศและมีติดตั้งแสดงถาวรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ แม้ว่าจะอยู่ในวัยชราท่านยังคงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างไม่หยุดหยั้ง มหาวิทยาลัยศิลปากรเห็นความสำคัญในผลงานของ ชิต เหรียญประชา จึงได้จัดแสดงผลงาน จำนวน ๓๑ ชิ้น เพื่อเป็นเกียรติและเป็นการเผยแพร่ผลงานแก่ประชาชน ที่หอศิลป์ของมหาวิทยาลัย นายชิต เหรียญประชา ได้ดำเนินชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในฐานะบุคคลและศิลปิน

          นายชิต เหรียญประชา เกิดที่จังหวัดนครปฐม จากชีวิตช่างสู่ความเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมเริ่มต้นอาชีพรับจ้างทำงานช่างชั้นฝีมือ ด้วยความอดทนใช้ความชำนาญสร้างผลงานประติมากรรมปั้นและแกะสลักงาช้างชื่อ หนุมานและนางมัจฉา ต่อมาสร้างผลงานแกะสลักไม้ชื่อ รำมะนา หญิงไทย เถิดเทิง ผลงานทั้งหมดได้สะท้อนลักษณะประติมากรผู้เชี่ยวชาญที่ตัดส่วนละเอียดของรูปทรงให้เหลือเฉพาะส่วนสำคัญ ให้มีท่าทางถูกต้องตรงตามเรื่องราววิถีชีวิตของคนไทยโดยอาศัยชั้นเชิงกระบวนการแกะสลักไม้ และจากการได้รับรางวัลในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ถึง 4ทำให้ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมด้านประติมากรรม ผลงานพระพุทธรูปปางลีลาและปางมารวิชัยเป็นผลงานประติมากรรมแกะสลักไม้ที่สร้างสรรค์ขึ้นตามความคิดคำนึงของตนเอง เป็นผลงานขนาดใหญ่สองชิ้นที่สร้างขึ้นในช่วงปัจฉิมวัย ผลงานดังกล่าวได้พิสูจน์ความมุ่งมั่นในความเป็นช่างแกะสลักสู่ศิลปินชั้นเยี่ยมด้านประติมากรรมจากงานศิลปกรรมแห่งชาติ ตลอดชีวิตการทำงานสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี
          นอกจากนนี้ผลงานของท่านได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือศิลปะหลายเล่ม เช่น สูจิบัตร การแสดงนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ หนังสือศิลปะร่วมสมัยของศาสตราจารย์ศิลปะ พีระศรี และของคณะจิตรกรรมประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร หนังสือการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ย้อนหลังจัดพิมพ์กาสเปิดหอศิลป์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น
          ระหว่าง พ.ศ. 2489-2500 ท่านได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมจิตรกรรมประติมากรรมแห่งประเทศไทย (คนที่ 2) ท่านเสียสละเวลากำลัง ความคิด กำลังกายดำเนินการเป็นผลดีแก่วงการศิลปะและประชาชนอย่างมากมาย นับเป็นยุครุ่งเรืองของสมาคมยุคหนึ่ง ช่วงนี้ท่านได้สร้างพระพุทธรูปไม้และโลหะขึ้นหลายองค์อุทิศให้พระพุทธศาสนา
          แม้จะสูงอายุ ท่านอุทิศตนแก่งานศิลปะที่ท่านรักเป็นที่สุด หลังจากได้ฟันฟ่าอุปสรรคมามากมายในอดีต เมื่อมีโอกาสท่านจะไม่ลังเลที่จะทำประโยชน์ให้แก่เยาวชนและประเทศชาติ ท่านใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ สงบเสงี่ยม สง่างามตามอัตถภาพท่ามกลางความเคารพรักของญาติสนิทมิตรสหาย
          ท่านถึงแก่กกรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ด้วยโรคไตวายและหัวใจล้มเหลว ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อายุได้ 86 ปี
ที่มา : ปราชญ์ท้องถิ่น. ค้นเมื่อ สิงหาคม 15, 2555, จาก
                    http://cul.npru.ac.th/journal/pdf/NPphilosopher4.pdf



โดย สาธิกา  สุขกรม และ รักใจ  ทองฉิม